วันพุธที่ 19 พฤศจิกายน พ.ศ. 2557

การบันทึกอนุทินครั้งที่ 14

บันทึกอนุทิน
วิชา การจัดประสบการณ์วิทยาศาตร์สำหรับเด็กปฐมวัย
อาจารย์ผู้สอน อาจารย์ จินตนา สุขสำราญ
อังคารเช้า พ.ศ. 2557
เวลาเรียน 08.30 น. ถึง 12.20 น.


การบันทึกอนุทินครั้งที่ 13


กิจกรรมวันนี้

อาจารย์ให้นำเสนอแผนการเรียนการสอนจากคราวที่แล้วนำเสนอต่อในอาทิตย์นี้ค่ะ

แผนการสอนเรื่อง หน่วย สับปะรด

ขั้นนำ
   - ถามคำถามปลายเปิดเกี่ยวกับลักษณะของสับปะรดว่าเป็นอย่างไร เช่น ผิว ขนาด สี ของสับปะรด

ขั้นสอน
   - สอนการทำน้ำสับปะรดนั่นเอง ซึ่งความจริงเพื่อนบอกว่าจะทำน้ำสับปะรดปั่นแต่ไม่มีเครื่องปั่นจึงเปลี่ยนขั้นตอนโดยการนำสับปะรดมาหั่นเป็นชิ้นเล็กๆในน้ำแข็ง+น้ำเชื่อม+คนให้เข้ากันชิมแล้วอร่อยจ้า

ขั้นสรุป
  - ครูถามเด็กๆว่าสับปะรดมีประโยชน์อย่างไร และมีข้อควรระวังอะไรหรือไม่





แผนการสอนเรื่อง หน่วย ส้ม 

 ขั้นนำ

-สอนเรื่อง เพลงที่เกี่ยวกับส้มสายพันธ์ต่างๆ เช้น ส้มสายน้ำผึ้ง ส้มโชกุน ส้มแมนดารีนฯลฯ
และลักษณะของส้ม

 ขั้นสอน
- บูรณาการกับวิชาคณิตศตาร์โดยการให้เด็กนับส้มว่ามีทั้งหมดกี่โลกจากนั้นนำตัวเลขมาวาง


ขั้นสรุป

- ถามเด็กๆว่านอกจากส้มที่ครูให้ดูวันนี้แล้วมีส้มอะไรที่เด็กๆรูจักกันบ้าง




วันจันทร์ที่ 10 พฤศจิกายน พ.ศ. 2557

สรุปวิจัย


                                                                      งานวิจัย(คลิกดูลิงค์)
การจัดการเรียนการสอนในโรงเรียนให้เอื้อกระบวนการคิดแบบวิทยาศาสตร์

เด็กปฐมวัยสามารถเริ่มเรียนรู้วิทยาศาสตร์ได้จากการทดลองที่ใกล้ตัว ง่าย น่าตื่นเต้น ชวนให้สนุก กระตุ้นให้เกิดความอยากรู้อยากเห็น ท้าทายให้หาคำตอบ
ทำให้เป็นคนที่รู้จักคิด มีเหตุผล และเป็นคนที่มีเจตคติที่ดีทางวิทยาศาสตร์
การทดลองวิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัยจึงมุ่งจุดประกายความคิดและความสนใจวิทยาศาสตร์ให้กับเด็กเพื่อสร้างเด็กให้รักวิทยาศาสตร์

วิธีสอน

ใช้ประสาทสัมผัสทั้ง 6 ตา หู จมูก ลิ้น ผิวสัมผัส และจิต
ฝึกทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ขั้นพื้นฐาน 8 ทักษะ  
                 1. ทักษะการสังเกต 
                 2. ทักษะการลงความคิดเห็นจากข้อมูล 
                 3. ทักษะการจำแนกประเภท 
                 4. ทักษะการพยากรณ์ 
                 5. ทักษะการวัด 
                 6. ทักษะการคำนวณ   
                 7. ทักษะการหาความสัมพันธ์ระหว่างสเปสกับสเปส และสเปสกับเวลา และ
                 8. ทักษะการจัดกระทำและสื่อความหมายข้อมูล


กิจกรรมการสอนวิทยาศาสตร์ปฐมวัย

เรื่อง : แม่เหล็ก




ให้เด็กได้ลองเล่นลองจับสัมผัสกับแม่เหล็ก




บันทึกอนุทินครั้งที่12

บันทึกอนุทินครั้งที่12


ต่อจากสัปดาห์ที่แล้วเกี่ยวกับเรื่องแผนคราวก่อนและแผนครั้งนี้อาจารย์ได้อธิบายอาจารย์ได้นำตัวเองแผนมาให้ดูแล้วให้จัเรียงตามแบบหัวข้อที่ให้มาดังนี้

1.กรอบมาตรฐาน
2.สาระที่ควรเรียนรู้
3.แนวคิด
4.เนื้อหา
5.ประสบการณ์สำคัญ
6.บูรณาการ
7.กิจกรรมหลัก
8.วัตถุประสงค์

เมื่ออาจารย์อธิบายเกี่ยวกับการสอนแผนต่างๆเสร็จแล้วจากนั้นก็ให้เพื่อนๆสอนแผนที่เตรียมมา

 กลุ่มที่ 1 หน่วยข้าว(ทำซูชิข้าวเหียว)

                                     


กลุ่มที่ 2 หน่วยไข่


กลุ่มที่ 3 หน่วย กล้วย


กลุ่มที่ 4 หน่วย กบ



เทคนิคการสอน

1.ให้นักศึกษานำเสนอแผนการสอนให้เสร็จก่อนหลังจากนั้นอาจารย์ก็ให้คำแนะนำเพิ่มเติม
2.ใช้คำถามปลายเปิดเพื่อนกระทุ้นความคิดให้เด็กจากประสบการณ์เดิมของเด็กทำให้มีความคิดต่อยอด
3.ทักษะการวิเคราะการคิดสร้างสรรค์

การนำไปประยุกต์ใช้

 1. สามารถนำแผนการเรียนการสอนของเพื่อนๆที่นำเสนอมาใช้จริงได้เมื่อเราสอนเด็ก
2. การนำเทคนิคการสอนของอาจารย์มาเป็นแนวความรู้

การประเมินตนเอง
 - วันนี้นำเสนองานได้ยังไม่ค่อยดีมากเท่าไหร่และเป็นกลุ่มแรกทำให้ตื่นเต้นเล็กน้อยและเข้าห้องน้ำบ่อยเพราะแอร์เย็น

การประเมินเพื่อน
 - เพื่อนๆทุกคนสนใจในสิ่งที่เรานำเสนอและทุกคนอยากมาปั้นและชิมซูชิของเรากันทุกคนค่ะ

การเประเมินอาจาร์
- มีคำแนะนำที่ดีและคอยบอกคอยสอนถึงข้อผิดพลาดเพื่อนให้นำมาปรับปรุงจะได้มีประสิทธิภาพในการทำแผนการสอนและวิธีการคุมเด็กให้อยู่ดีมากค่ะ 




วันพุธที่ 29 ตุลาคม พ.ศ. 2557

การบันทึกอนุทินครั้งที่ 11



      บันทึกอนุทิน
วิชา การจัดประสบการณ์วิทยาศาตร์สำหรับเด็กปฐมวัย
อาจารย์ผู้สอน อาจารย์ จินตนา สุขสำราญ
อังคารเช้า พ.ศ. 2557
เวลาเรียน 08.30 น. ถึง 12.20 น.

กิจกรรมวันนี้

วันนี้เป็นวันที่สนุกและตลกมากๆค่ะมีอะไรให้ทำทั้งคาบเลยและมีการทดลองวิทยาศาสตร์ต่างๆมากมายได้ทั้งความรู้และการเข้าใจถึงวิทยาศาสตร์รอบตัวได้ง่ายๆเลยค่ะ


******เดี๋ยวจะลองรูปเพิ่มเติมนะค่ะยังไม่เสร็จค่ะ



วพ้

วันอังคารที่ 28 ตุลาคม พ.ศ. 2557

การบันทึกอนุทินครั้งที่ 10



บันทึกอนุทิน
วิชา การจัดประสบการณ์วิทยาศาตร์สำหรับเด็กปฐมวัย
อาจารย์ผู้สอน อาจารย์ จินตนา สุขสำราญ
อังคารเช้า พ.ศ. 2557
เวลาเรียน 08.30 น. ถึง 12.20 น.


กิจกรรมวันนี้

1. อาจารย์ให้เพื่อนๆนำเสนอของเล่นวิทยาศาสตร์ต่อจากสัปดาห์ที่แล้วให้เพื่อนๆในห้องดู
2. อาจารย์ให้เพื่อนจัดโต๊ะแล้วช่วยกันระดมความคิดภายในกลุ่มเกี่ยวกับการเขียนแผน
3. จากนั้นอาจารย์ได้อธิบายขั้นตอนการเขียนแผนอย่างละเอียดว่าการเขียนแผนนั้นควรเริ่มอย่างไร

-นำมายเมปที่ทำเกี่ยวกับเรื่องข้าวมาดูจากนั้นเริ่มปรึกษากันถึงการเขียนแผน

เทคนิคการสอน

อาจารย์ใช้เทคนิคการสอนแบบระดมความคิดเห็นจากเพื่อนๆภายในห้องและชี้แจงเป็นจุดๆอย่างระเอียดเพื่อจะได้ฝึกการคาดเดาความน่าจะเป็นถึงสิ่งต่างๆเนื้อหาที่เรากำลังจะเรียน

การนำไปประยุกต์ใช้
      สามารถนำของเล่นต่างไปใช้กับเด็กได้  เพื่อให้เด็กเกิดความสนุกสนานได้

   ประเมินอาจารย์
      อาจารย์ได้สอดแทรกและเพิ่มเติมความรู้เกี่ยวกับสื่อต่างๆ  ได้อย่างเหมาะสม

   ประเมินตนเอง
      ออกไปนำเสนอผลงานของตนเองอย่างเต็มที่  

   ประเมินเพื่อน
      สื่อของเพื่อนๆมีความน่าสนใจเป็นอย่างมาก



1กอำอ

วันพุธที่ 15 ตุลาคม พ.ศ. 2557

การบันทึกอนุทินครั้งที่ 9


บันทึกอนุทิน
วิชา การจัดประสบการณ์วิทยาศาตร์สำหรับเด็กปฐมวัย
อาจารย์ผู้สอน อาจารย์ จินตนา สุขสำราญ
อังคารเช้า พ.ศ. 2557
เวลาเรียน 08.30 น. ถึง 12.20 น.


กิจกรรมวันนี้ 

วันนี้อาจารย์ให้นักศึกษาแต่ละคนออกมานำเสนอของเล่นที่แต่ละคนได้คิดค้นและทำมาให้เพื่อนในห้องได้ชม

                                               นาฬิกาทรายทั่วเขียว ผลงานของเราเอง ^^ 


 

 Equipment 
      1. ขวดน้ำพลาสติกเหลือใช้
      2. ถั่วเขียวหรือเป็นธัญญาพืชอื่นๆก็ได้แล้วแต่ความสะดวก
      3. กระดาษสีสำหรับตกแต่ง
      4. กาวสำหรับติดกระดาษ
      5. สก๊อตเทปสำหรับเชื่อมปากขวด 
How do 
      1. นำขวดน้ำมาล้างให้สะอาดแล้วเช็ดให้แห้ง
      2. จากนั้นนำถั่วเขียวใส่ลงไปในขวดจนเต็ม 1 ขวด
      3. จากนั้นนำขวดที่เหลืออีก 1 ขวดมาประกบกันแล้วพันสก๊อตเทปให้แน่น
      4. ตกแต่งให้สวยงาม
 How to Play
      1.เทขวดฝั่งที่มีถั่วเขียวให้ตั้งขึ้นจากนั้นก็รอเวลาให้ถั่วเขียวไหลลงมา
      2. ใช้เป็นนาฬิกาจับเวลาการทำกิจจกรรมได้อีกด้วย
 Extra
      สามารถใช้ถั่วอะไรก็ได้ตามถนัดแล้วนำมาเปรียบเทียบกันว่าทั่วแบบไหนไหลลงเร็วกว่ากัน

       ผลงานของเพื่อนจ้า       

  เทคนิคการสอน

       -อาจารย์ให้เราทำผลงานมาแล้วต้องสามารถอธิบายและตอบคำถามอาจารย์ได้  เพราะเมื่อเราทำสื่อหรือของเล่นไปให้เด็ก  เล่นแล้วเด็กเกินการสงสัยและตั้งคำถามถามครู  ต้องสามารถตอบให้เด็กเข้าใจได้และหายสงสัยได้

   การนำไปประยุกต์ใช้

       -สามารถนำขสื่อของเพื่อนๆที่นำเสนอในวันนี้ไปใช้ทำให้หลานที่บ้านเล่นได้โดยที่ไม่ยากและประหยัดค่าอุปกรณ์อีกด้วย

   ประเมินอาจารย์

       -อาจารย์ได้สอดแทรกและเพิ่มเติมความรู้เกี่ยวกับสื่อต่างๆ  ได้อย่างเหมาะสม

   ประเมินตนเอง

       -ออกไปนำเสนองานอย่างเต็มที่และต้องหาข้อมูลเพิ่มเต็มเกี่ยวกับแรงโน้มถ่วงและแรงดึงดูด

   ประเมินเพื่อน

       -สื่อของเพื่อนแต่คนมีความน่าสนใจและใช้วัสดุที่หาง่ายเป็นส่วนใหญ่เราสามารถทำตามได้เลย

                  
                                            

             
บันทึกอนุทินครั้งที่ 8
  
                                      
                               ไม่มีการเรียนการสอนเนื่องจากสอบ








การบันทึกอนุทินครั้งที่ 7


บันทึกอนุทิน
วิชา การจัดประสบการณ์วิทยาศาตร์สำหรับเด็กปฐมวัย
อาจารย์ผู้สอน อาจารย์ จินตนา สุขสำราญ
อังคารเช้า พ.ศ. 2557
เวลาเรียน 08.30 น. ถึง 12.20 น.


กิจกรรมวันนี้

oo



จากนั้นให้เพื่อนๆทุกคนออกมาลองโยนดูว่าจะเป็นอย่างไร


กิจกรรมวิทยาศาสตร์จากแกนกระดาษทิชชู่








อุปกรณ์ 

1.แกนกระดาษทิชชู
2.ไหมพรมหรือเชือกอะไรก็ได้
3.กระดาษสี สีไม้ สีเมจิ
4.ที่หนีบกระดาษ กาว

วิธีการทำ

1.ตัดแกนกระดาษทิชชูแบ่งครึ่ง
2.ใช้ที่หนีบกระดาษมาเจาะแกนกระดาษทิชชูให้เป็นรูแบบรูปภาพที่ 2
3.นำไหมพรมมาร้อยตรงรูที่เราเจาะบนแกนกระดาษทิชชูแบบรูปภาพที่ 3
4.ตัดกระดาษเป็นรูปสี่เหลี่ยมแล้ววาดรูปภาพอะไรก็ได้แล้วนำมาแปะบน
   แกนกระดาษทิชชู

สิ่งที่เด็กจะได้รับจากกิจกรรมนี้

1.เด็กๆได้นำวัสดุอุปกรณ์ที่เหลือใช้นำมาทำเป็นสิ่งประดิษที่มีประโยชน์
2.การเห็นคุณค่าของสิ่งของ
3ปลูกฝันจิตสำนึกให้เด็กรู้จักใช้สิ่งรอบตัว


เพิ่มเติม 

  
ลม(Wind) หมายถึง อากาศที่เคลื่อนที่ไปในทิศทางในแนวราบ เกิดจากการแทนที่ของอากาศ เนื่องจากอากาศในบริเวณที่ร้อนจะลอยตัวสูงขึ้น ในขณะที่อากาศบริเวณใกล้เคียงที่อุณหภูมิต่ำกว่าจะเคลื่อนที่เข้ามาแทนที่ เมื่อมีการเคลื่อนไหวของอากาศที่เกิดจากการเปลี่ยนแปลงและแตกต่างกันของความ กดอากาศ อากาศบริเวณที่มีความกออากาศสูงจะเคลื่อนที่เข้ามายังบริเวณที่มีความกด อากาศต่ำมวลอากาศที่เคลื่อนที่เราเรียกว่า "ลม" จึงกล่าวได้ว่า ลม เกิดจากการเคลื่อนที่จากบริเวณที่มีความกดอากาศสูงไปยังบริเวณที่มีความกด อากาศต่ำนั่นเอง โดยการเคลื่อนที่ของลมจะเร็วหรือช้าขึ้นอยู่กับความแตกต่างของความกดอากาศ สูง และความกดอากาศต่ำ ถ้ามีความแตกต่างกันน้อยลมที่เกิดขึ้นจะเป็นลมเอื่อย และถ้ามีความแตกต่างกันมากจะกลายเป็นพายุได้ ดังนั้นการเกิดลม เป็นปรากฏการณ์ที่อากาศร้อนลอยตัวสูงขึ้น และอากาศเย็นเคลื่อนที่เข้ามาแทนที่ นอกจากนั้นการหมุนเวียนของลมบนโลกเป็นกลไกในการช่วยกระจายพลังงานความร้อน จากดวงอาทิตย์ ให้เฉลี่ยทั่วถึงโลก และช่วยพัดพาเอาความชุ่มชื้นจากพื้นน้ำมาสู่พื้นดิน

อากาศ คือ อากาศอยู่รอบตัวเราเสมอ เราสามารถรู้ว่ามีอากาศอยู่รอบๆตัวเราได้โดยการโบกมือไปมา กระแสลมที่เกิดขึ้นและปะทะกับฝ่ามือของเราก็แสดงว่าอากาศมีอยู่จริงหรือถ้าเรายืนอยู่ในที่ที่มีลมพัดผ่าน เราจะสามารถรู้ว่ามีอากาศหรือลมพัดผ่านมาถุกตัวเรา แรงลมสามารถทำให้เกิดคลื่นน้ำได้หรือหมุนกังหันลมได้

ส่วนประกอบของอากาศ 
  
 ส่วนผสมของก๊าซต่างๆและไอน้ำ ได้แก่ ก๊าซไนโตรเจน ก๊าซออกซิเจน คาร์บอนไดออกไซต์และโอโซนอากาศมีอยู่รอบตัวเราทุกหนทุกแห่ง อากาศไม่มีสี ไม่มีรสชาติ ไม่มีกลิ่น

ความสำคัญของอากาศ 

1.มีก๊าซที่จำเป็นต่อการดำรงชีวิตของมนุษย์ พืชและสัตว์
2.ทำให้เกิดลมและฝน
3.มีอิทธิพลต่อการเกิด ปริมาณ และคุณภาพของทรัพยากรอื่นๆเช่น ป่าไม้และ
   แร่ธาตุ

ข้อควรระวัง

1.ลดปริมาณสารทำให้อากาศเสีย เช่น ฝุ่นละอองหรือสารพิษ
2.ลดปริมาณก๊าซเรือนกระจก เช่น ไม่เผาป่า ฟางข้าวหรือขยะมูลฝอย
3.อนุรักษ์ป่าไม้ไม่ตัดไม้ทำลายป่าเพื่อช่วยลดอากาศเสียและทำให้ไม่เกิดน้ำท่วม
  และไฟไหม้ป่า


ประเมินตนเอง

 เข้าเรียนตรงเวลา แต่งกายถูกต้องเรียบร้อย ตั้งใจทำกิจกรรมเพราะชอบกิจกรรมที่อาจารย์นำมาให้ปฎิบัติ

ประเมินเพื่อน

 เพื่อนแต่งกายถูกต้องเรียบร้อย เพื่อนทุกคนสนุกและตั้งใจทำกิจกรรมที่อาจารย์นำมาให้ปฎิบัติทุกคน

ประเมินอาจารย์

 อาจารย์เข้าสอนตรงเวลา มีการเตรียมการสอนมาดีทุกครั้ง มีกิจกรรมมาให้ทำทุกสัปดาห์ทำให้นักศึกษาสนุกไปกับการที่ได้ทำกิจกรรม





วันจันทร์ที่ 29 กันยายน พ.ศ. 2557

บันทึกการเรียนครั้งที่ 6



บันทึกอนุทิน
วิชา การจัดประสบการณ์วิทยาศาตร์สำหรับเด็กปฐมวัย
อาจารย์ผู้สอน อาจารย์ จินตนา สุขสำราญ
อังคารเช้า พ.ศ. 2557
เวลาเรียน 08.30 น. ถึง 12.20 น.


กิจกรรมกังหันสัมพันธ์




ผลงานของเพื่อนๆในห้อง



วิธีการทำ

1.อาจารย์แจกกระดาษหนังสือคนละหนึ่งแผ่น
2.พับกระดาษแบ่งครั้งให้เท่ากัน
3.วาดรูปที่มันมีความสัมพันธ์กันเช่น ก้อนเมฆกับพระอาทิตย์วาดทั้งด้านหน้าและด้านหลัง
4.ตกแต่งระบายสีให้สวยงาม
5.นำไม้เสียบลูกชิ้นมาวางไว้ตรงกลางกระดาษติดด้วยเทปใส
6.นำเทปใสมาติดตรงปลายกระดาษเพื่อให้กระดาษปะกบกันได้

อุปกรณ์

1.กระดาษสี
2.ไม้เสียบลูกชิ้น
3.กาว , เทปใส
4.สีเมจิ , สีไม้


กิจกรรมส่องกล้องจากแกนกระดาษทิชชู่



  จากกิจกรรมนี้ได้ต่อเนื่องจากกิจกรรมความลับของแสงที่อาจารย์ได้ให
 นักศึกษาดูวีดีโอแล้วนำมาบันทึกในกิจกรรมครั้งที่ 5 จากที่ส่องกล้องมีทั้ง
  หมด4 สีคือสีแดง สีเขียว สีเหลือง สีน้ำเงิน

เฟรดริค วิสเฮม เฟรอเบล ผู้นำการศึกษาอนุบาล
ที่ได้รับขนานนามว่าเป็น “บิดาการศึกษาปฐมวัย” ด้วยการพัฒนาโรงเรียนอนุบาลแห่งแรกขึ้นในประเทศเยอรมนีในปี ค.ศ. 1837 เป็นผู้ริเริ่มแนวคิดการจัดการศึกษาปฐมวัยให้เป็นไปอย่างมีรูปแบบ กำหนดให้มีการวางแผนการสอน มีหลักสูตรสำหรับการศึกษาปฐมวัย มีการฝึกหัดครู รวมถึงการพัฒนาการสอนเด็กปฐมวัยด้วยการผลิตอุปกรณ์การสอน ที่เรียกว่า ชุดอุปกรณ์ และการจัดกิจกรรมสำหรับเด็กปฐมวัยที่เรียกว่า การงานอาชีพ
เฟรอเบลเชื่อว่าเด็กมีความสามารถในสิ่งดีงาม มาตั้งแต่เกิด เด็กปฐมวัยควรจะเรียนรู้ด้วยการเล่น การแสดงออกอย่างอิสระ เด็กควรได้รับประสบการณ์จากการเรียนรู้ทั้งนอกชั้นและในชั้นเรียนโดยเฉพาะประสบการณ์ที่ได้มาจากการเล่น ด้วยเหตุผลนี้เฟรอเบลจึงใช้พื้นฐานความพร้อมของเด็กในการเรียน พัฒนาการตามช่วงอายุ ธรรมชาติของเด็กและเหตุผลทางคณิตศาสตร์ที่เฟรอเบลมีความสนใจมาจัดทำเป็นชุดของเล่นและกิจกรรมสำหรับเด็กที่สอดคล้องกับวัยของเด็กโดยเรียกชื่อว่า ชุดอุปกรณ์ (Gifts) และการงานอาชีพ (Occupations)
ชุดอุปกรณ์ หมายถึง อุปกรณ์สำหรับเด็กใช้เล่นเพื่อการเรียน ตามแนวการสอนของครู เป็นการเรียนรู้เกี่ยวกับรูปร่าง ขนาด สี และมโนทัศน์ที่เกี่ยวกับการวัด นับ การจำแนก และเปรียบเทียบ ชุดอุปกรณ์นี้ประกอบด้วยวัสดุสัมผัสได้จำนวน 10 ชุด
การงานอาชีพ หมายถึง กิจกรรมที่ออกแบบมาใช้ในการพัฒนาทักษะต่างๆ เช่น ปั้นดิน การตัด ร้อยลูกปัด การทำขนม การพับ เป็นต้น
เฟรอเบลเปรียบเทียบการสอนเด็กว่าเหมือนกับการเพาะเมล็ดพืชที่ผู้ปลูกต้องดูแลให้เม็ดงอกงามขึ้นเป็นต้นแตกกิ่งใบและดอกผลที่สมบรูณ์ เช่นกับการพัฒนาเด็กที่ดีต้องสอดคล้องผสมผสานกลมกลืนไปกับธรรมชาติของเด็ก ให้เด็กได้เรียนรู้จากง่ายไปยาก ตามความสนใจของเด็กโดยครูต้องมีแผนการสอนที่สอดคล้องกับวัย พัฒนาการและความพร้อมของเด็กในการเรียน เปิดโอกาสให้เด็กลงเล่นมือชุดอุปกรณ์อย่างอิสระ รวมถึงครูต้องประเมินพัฒนาการของเด็กโดยการสังเกตจากการทำกิจกรรมประจำวัน ในการจัดการเรียนการสอนนี้ ตารางกิจกรรมประจำวันมีความสำคัญเป็นอย่างยิ่ง ซึ่งเฟรอเบลเป็นผู้พัฒนาตารางกิจกรรมประจำวันขึ้น เพื่อให้เด็กได้รับการพัฒนาที่ครอบคลุมทั้ง 4 ด้านคือ ร่างกาย อารมณ์ สังคม สติปัญญา แนวคิดตารางกิจกรรมประจำวันนี้จึงได้นำมาใช้ในการศึกษาปฐมวัยในปัจจุบัน ดังนั้นการนำตารางกิจกรรมประจำวันมาใช้ สิ่งที่ครูต้องคำนึงถึงคือ “การบูรณาการ” ครูอาจผสมผสานกิจกรรมต่างๆเข้ากับการเรียนด้วยการเล่นอย่างมีความสุขนั้นก็ คือ หัวใจการศึกษาปฐมวัย

ประเมินตนเอง
เข้าเรียนตรงเวลา แต่งกายถกต้องเรียบร้อย ตั้งใจทำกิจกรรมความ
สัมพันธ์มากเพราะชอบเรียนปฎิบัติมาก

ประเมินเพื่อน

 เพื่อนคุยกันตอนอาจารย์เปิดเพลงทำให้ไม่ค่อยเข้าใจเนื้อหา แต่งช่วงทำกิจกรรมที่ต้องปฎิบัติ
เพื่อนให้ความสนใจมาก

ประเมินอาจารย์  

อาจารย์เตรียมเนื้อหาการสอนมาดีมาก อาจารย์จะใช้วิธีการตั้งคำถามแล้วกระตุ้นให้นักศึกษาสนใจกับเนื้อหาที่้ตรียมมา